Home ทั้งหมด ขอจดทะเบียนสมรสนอกอำเภอทำได้หรือไม่

ขอจดทะเบียนสมรสนอกอำเภอทำได้หรือไม่

3647

ขอจดทะเบียนสมรสนอกอำเภอทำได้หรือไม่

หลักกฎหมายจดทะเบียนสมรสนอกอำเภอ

พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ให้สิทธิชาย หรือหญิงผู้จะทำการสมรสร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรส ณ สถานที่อื่น นอกสำนักงานทะเบียน เช่นที่บ้านของตน หรือสถานที่จัดงานเลี้ยงฉลองการสมรส แต่ ชายหญิงต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากันให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน ด้วยตนเอง

แบบแห่งการสมรส

กฎหมายกำหนดในเรื่องแบบแห่งการสมรสไว้ในมาตรา ๑๔๕๗ โดยการสมรส จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วก็เกิดผล เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องมีพิธีอย่างอื่นอีก ถึงแม้จะมีการประกอบ พิธีแต่งงานกันใหญ่โตเพียงใด หากยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสชายหญิงคู่นี้ก็ยังไม่มี ฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ตรงกันข้ามหากได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วแม้จะ ไม่ได้มีพิธีแต่งงานกันตามประเพณี หรือชายหญิงยังไม่เคยอยู่กินด้วยกันเลย ชายหญิง ก็มีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย

ในการที่ชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันนั้น บุคคลทั้งสองต้องไปยื่นคำร้องขอ ต่อนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นนายทะเบียน เมื่อได้รับการร้องขอให้จดทะเบียน สมรสดังกล่าว นายทะเบียนต้องจดทะเบียนสมรสให้ตามพระราชบัญญัติ จดทะเบียน ครอบครัวฯ มาตรา ๑๐ จะไม่จดทะเบียนให้ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๓ เฉพาะในกรณีที่การสมรสมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ถึง ๑๔๕๔ เท่านั้น จะนำคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ห้ามจดทะเบียนสมรสให้กับคนไทยกับหญิงต่างด้าวที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว – มาใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปอย่างเช่นกฎหมายหาได้ไม่

การจดทะเบียนสมรสทำนอกอำเภอได้หรือไม่

การจดทะเบียนสมรสจะกระทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตก็ได้ โดย พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ให้สิทธิชาย หรือหญิงผู้จะทำการสมรสร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรส ณ สถานที่อื่น นอกสำนักงานทะเบียน เช่นที่บ้านของตน หรือสถานที่จัดงานเลี้ยงฉลองการสมรส แต่ ชายหญิงต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากันให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน ด้วยตนเอง จะตั้งตัวแทนไปจดทะเบียนสมรสไม่ได้

หูหนวกตาบอดจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่

ถ้าชายหรือหญิงเป็นคนหูหนวก หรือใบ้ หากเขียนหนังสือได้ก็อาจแสดงความยินยอมของตนโดยวิธีเขียนหนังสือต่อหน้า นายทะเบียน และนายทะเบียนต้องบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย แต่ถ้าหูหนวกหรือให้ ดังกล่าวเขียนหนังสือไม่ได้ก็ใช้การแสดงกริยาท่าทาง อันแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ยินยอมเป็นสามีภริยากันก็ได้

เมื่อชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยากันตาม กฎหมาย แม้จะได้เลิกร้างกันไป ๒๐ ถึง ๓๐ ปี ทรัพย์สมบัติแบ่งแยกกันไปเป็นสัดส่วน แต่ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า หญิงนั้นยังเป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่นั่นเอง นอกจากนี้การที่สามีภริยาตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบด้วย กฎหมายแล้ว แม้ภายหลังจะได้เสียกันใหม่แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ถือว่าเป็น สามีภริยากันตามกฎหมาย การที่ชายหญิงสมรสกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อน วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น การสมรสดังกล่าวเป็น อันสมบูรณ์ตามกฎหมายลักษณะตัวเมียและเป็นอันสมบูรณ์ในปัจจุบันนี้ด้วยโดย ไม่จำเป็นต้องมาจดทะเบียนสมรสกันใหม่อีก กระทรวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินให้จดทะเบียนสมรสนอกอำเภอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๔๐/๒๕๒๕

นายทะเบียนอ้างระเบียบ-มหาดไทยมาเป็นเหตุไม่รับจดทะเบียนสมรสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๑๕๒/๒๕๓๒ การที่โจทก์เองเป็นฝ่ายขอร้องจำเลย ให้มีหนังสือสอบถามไปยังสถานทูตเกี่ยวกับความเป็นโสดของโจทก์ เพราะโจทก์ ไม่สามารถเอาหนังสือรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตมาแสดงได้ จำเลยจึงได้ดำเนิน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

จดทะเบียนสมรส
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง
จดทะเบียนสมรสออนไลน์
จดทะเบียนสมรส ไม่มีพยาน
จดทะเบียนสมรส ไม่เปลี่ยนนามสกุล
จดทะเบียนสมรสที่ไหน
จดทะเบียนสมรส ภาษาอังกฤษ
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง 2565
จดทะเบียนสมรส ปทุมธานี
จดทะเบียนสมรส คลองหลวง
จดทะเบียนสมรส คลองหลวง 2565

Facebook Comments